ประวัติวัดไชโยวรวิหาร
วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๒๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ที่ดิน
ที่ตั้งวัด ๓๕ ไร่ ๓ งาน ๙๗ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓
วัดไชโยวรวิหาร (บางแห่งเรียก “วัดเกษไชโย”) นี้ เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างมาตั้งแต่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เริ่มมีชื่อเสียงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ประมาณ
ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ - ๒๔๐๕ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ ณ วัดนี้
สาเหตุที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาสร้างพระพุทธรูป ณ ที่นี้มีเรื่องเล่าว่าเนื่องจากโยมตา
และโยมมารดาของท่านพื้นเพเป็นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณนี้ ท่านจึงสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่
อุทิศให้โยมมารดาอีกทั้งเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้รับการสอนสั่ง ณ สถานที่บริเวณนี้
สมเด็จฯ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ “พระเทพกวี” ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดไชโยนี้อยู่สองคราว คือ : ครั้งแรก สร้างเป็นพระพุทธรูปนั่ง ขนาดใหญ่โตมาก ใช้วิธีก่ออิฐสอดิน แต่ไม่นานนักก็พังทลายลงมา ครั้งที่สอง ก่อสร้างโดยการก่ออิฐสอดินเช่นเดิม แต่ลดขนาดพระลงมา ถึงกระนั้นก็ยังนับว่าพระยังองค์ใหญ่มาก ครั้งนี้ก่อสร้างสำเร็จ แต่ไม่สู้งามนัก เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ถือปูนขาว ไม่ได้ปิดทอง นั่งอยู่กลางแจ้ง เห็นได้แต่ไกล
ต่อมาปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยารัตนบดินทร (รอด กัลยาณมิตร) ที่สมุหนายกสำหนักราชการกรม
มหาดไทย ขึ้นมาเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์วัดไชโยนี้ขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม มีการสร้างวิหารซึ่ง
จำเป็นต้องกระทุ้งราก พระพุทธรูปก่อสร้างด้วยปูนทนการ กระเทือนไม่ได้ก็พังลง จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ รับสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โดยลดขนาดให้เล็กลงอีกและให้มีโครงเหล็กให้ยึดปูนไว้เป็นพระพุทธรูป (โต) ได้สร้างไว้แต่ครองจีวรและพาดสังฆาฏิกว้างแบบใหม่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘ วา
๖ นิ้ว สูงสุด ยอดพระรัศมี ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” (ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโต”) และทรงรับ
วัดไชโยเป็นพระอารามหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองเมื่อวันที่ ๕ - ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘
สรุปว่ารวมเวลาสร้างและบูรณะวัดรวม ๘ ปี จาก พ.ศ. ๒๔๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๘ ปัจจุบันวัดไชโย
วรวิหารได้จัดงานฉลองทุกปี แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ วันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ และอีกช่วงวันแรม
๗ - ๑๑ ค่ำ เดือน ๑
หมายเหตุ
มีความสับสนค่อนข้างมากเรื่องชื่อของ “วัดไชโย” และ “วัดเกษไชโย” หรือ “วัดเกศไชโย” ชื่อจริงอย่าง
เป็นทางการของวัดนี้คือ “วัดไชโยวรวิหาร” ตลอดมา
ต้นเหตุของความสับสน คือ เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดไชโยฯ ภายหลังจากที่ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงบูรณะวัด (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐) ชื่อ “พระมหาเกษ” ต่อมาเมื่อชาวบ้านเรียกชื่อ นิยมเรียกกันจนติดปากว่า “พระมหาเกษ
วัดไชโยฯ” และเรียกสั้นๆ กับเขียนว่า “วัดเกษ (หรือเกศ) ไชโย” ต่อมาเมื่อพระสมเด็จฯ ที่วัดนี้นิยมกันในกรุงเทพฯ นักเล่นพระเรียกว่า “พระสมเด็จ วัดเกษไชโย” จนเป็นที่คุ้นหูและเรียกติดปากมาจนทุกวันนี้