พระสมเด็จวัดระฆัง คือ 1 ใน 5 พระเบญจภาคี สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรังษี เป็นตัวแทนยุค รัตนโกสินทร์ จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล หรือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" พุทธคุณครอบจักรวาล เน้นบุญฤทธิ์ หนุนดวงชะตา เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยพิบัติ คงกระพัน โชคลาภ ใครมีบารมีได้ไว้จะรุ่งเรืองไม่มีวันตกต่ำ ราคาในการเช่า พระสมเด็จวัดระฆัง จึงมีมูลค้าสูงมาก ระดับหลายล้านบาท
พระสมเด็จวัดระฆัง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว
พุทธลักษณะพิมพ์ทรง พระสมเด็จวัดระฆัง มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้ง 5 แม่พิมพ์
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูน ลักษณะ
พิมพ์ทรง เป็นรูปสมมติของพระพุทธเจ้านั่งในระฆังคว่ำ องค์พระแลดูนั่งเอียงไปทางขวา ปลายพระเกศสะบัดเอียงไปทางซ้าย ในบางองค์อาจทะลุซุ้มด้านบน แลเห็นหูพระด้านซ้ายเป็นแนวจางๆยาวลงมา ไหล่ซ้ายดูยกสูงกว่าไหล่ขวา มองเห็นปลายพระบาท ยื่นเล็กน้อย ฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระพิมพ์ของวัดระฆังที่พบจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหมด ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ พระพักตร์กลมป้อม พระเกศเป็นมุ่นมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม (เป็นที่มาของชื่อพิมพ์) ต่างจากพิมพ์อื่น ตรงที่ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้ม องค์พระเป็นล่ำสัน มองเห็นเส้นสังคาฏิชัดเจน
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ แลเห็นตั้งแต่พระเกศจรดฐานชั้นล่างสุดเรียงเสมอเป็น
แนวรูปทรงเจดีย์ ลักษณะลำตัวพระแลดูหนากว่าทุกพิมพ์
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นแซมระหว่างใต้องค์พระ กับ ฐานชั้นบนสุด และใต้ฐานชั้นบนสุด กับ ฐานชั้นกลาง
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำคล้ายพิมพ์ฐานแซม เหนือพระเกศและหัวไหล่ปรกคลุมด้วยใบโพธิ์พระสมเด็จพิมพ์พิเศษอื่นๆ เช่น พิมพ์หลังภาษาจีน พิมพ์หลังยันต์ หรือหลังลายกนก เป็นต้น